เริ่มแล้ว ! สิงคโปร์ออกมาตราการคุ้มครองผู้เสียหายจากมิจฉาชีพ บังคับ ธนาคาร-ค่ายมือถือ ต้องร่วมรับผิดชอบ

ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2567 สำนักงานการเงินสิงคโปร์ (MAS) ได้เริ่มบังคับใช้กรอบความรับผิดชอบร่วม (Shared Responsibility Framework – SRF) เพื่อในการแก้ปัญหามิจฉาชีพออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบการเงินและการชำระเงินดิจิทัล
โดยสถาบันการเงินของสิงคโปร์มีเวลา 6 เดือน นับจากวันที่ 16 ธ.ค. 67 ในการปรับใช้มาตรการดังกล่าว ซึ่ง เอสอาร์เอฟ ฉบับสมบูรณ์นี้ ระบุว่า สถาบันการเงินและบริษัทโทรคมนาคม ต้องร่วมกันรับผิดชอบความสูญเสียของเหยื่อจากกลลวงออนไลน์ ซึ่งได้ระบุหน้าที่ และกำหนดถึงมาตรการที่ชัดเจนสำหรับสถาบันการเงินและค่ายมือถือ ที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อป้องกัน และหากไม่ปฏิบัติตามแล้ว บริษัท และธนาคาร จะต้องร่วมรับผิดชอบหากเกิดความเสียหายขึ้น โดยมาตรการใหม่นี้กำหนดให้สถาบันการเงินและผู้ให้บริการโทรคมนาคมต้องดำเนินการอย่างเข้มงวด อาทิ การส่งการแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์เมื่อพบพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัวหรือการทำธุรกรรมผิดปกติ
สำหรับบัญชีที่มีเงินคงเหลือตั้งแต่ 50,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 1.26 ล้านบาท) ขึ้นไป หากมีการทำธุรกรรมเกินกว่าครึ่งหนึ่งภายใน 24 ชั่วโมง ธนาคารจะต้องระงับธุรกรรมชั่วคราวจนกว่าจะติดต่อลูกค้าได้ หรือส่งการแจ้งเตือน พร้อมกับระงับธุรกรรมเป็นเวลา 24 ชั่วโมง
กรอบความรับผิดชอบร่วมนี้เป็นการยกระดับมาตรการป้องกันการหลอกลวงที่มีอยู่เดิม โดยสถาบันการเงินได้พัฒนากลไกเพิ่มเติมเพื่อคุ้มครองลูกค้า เช่น การจำกัดการใช้งานแอปพลิเคชันที่มีความเสี่ยงสูงหรือมาจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ เพื่อป้องกันภัยจากมัลแวร์
จุดประสงค์หลักของมาตรการนี้คือการลดภาระของผู้บริโภคในกระบวนการเรียกคืนเงิน ซึ่งในปัจจุบัน ผู้บริโภคต้องแบกรับภาระการพิสูจน์ว่าความสูญเสียที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากความประมาทของตัวเอง โดยกรอบความรับผิดชอบใหม่นี้มุ่งเน้นการแบ่งปันความรับผิดชอบระหว่างสถาบันการเงิน ผู้ให้บริการ และผู้บริโภค เพื่อสร้างความคุ้มครองที่ครอบคลุมและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น
ถึงอย่างนั้นกรอบความรับผิดชอบร่วม (SRF) มีข้อจำกัดที่สำคัญ โดยไม่ครอบคลุมการหลอกลวงทั้งหมด กล่าวคือ ไม่มีความคุ้มครองในบางกรณีที่สำคัญ เช่น
– การหลอกลวงให้ลงทุน
– การหลอกให้รัก
– การทำธุรกรรมทุจริตจากการแฮ็กระบบ
– การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล
– การติดมัลแวร์
ขอบเขตของ SRF จำกัดเฉพาะการหลอกลวงแบบฟิชชิ่งบนแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยมีเงื่อนไขสำคัญ คือ
- เป็นการหลอกลวงผ่านเว็บไซต์ปลอม
- เหยื่อถูกหลอกให้ป้อนข้อมูลบัญชี
- องค์กรที่ถูกแอบอ้างต้องมีการให้บริการในสิงคโปร์
ตัวอย่างการหลอกลวงที่อยู่ในขอบเขต เช่น
– การปลอมตัวเป็น Singapore Post หรือ DHL
– การส่งอีเมลหรือ SMS แอบอ้างว่ามีปัญหาบัญชี
– การหลอกให้คลิกลิงก์เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ปลอม
– การแอบอ้างเป็นสถาบันการเงินเพื่อนำเสนอข้อเสนอพิเศษต่างๆ
ทั้งนี้รัฐบาลสิงคโปร์ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนามาตรการป้องกันการฉ้อโกงออนไลน์อย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ และมีอำนาจในการปิดกั้นเนื้อหาหรือบัญชีที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงการหลอกลวง
สำหรับใครที่กำลังวางแผนไปเที่ยวจีน ภูเขาสี่ดรุณีจะเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ไม่ควรพลาด! เตรียมตัวให้พร้อมและออกไปสัมผัสกับภูเขาที่ได้รับการขนานนามว่า “สวิตเซอร์แลนด์ในแผ่นดินจีน” กันเถอะ! และสำหรับใครที่สนใจแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศในย่านห้วยขวาง สามารถมาแลกเงินต่างประเทศง่าย ๆ กับ ACU Currency Exchange เดินทางมาแลกง่าย ๆ เพียงลง MRT ห้วยขวาง ทางออก 4 แล้วเดินตรงมา 500 เมตร จะเจอกับ สำนักงานใหญ่ ACU Building เลย
สามารถเช็กอัตราแลกเปลี่ยน ตามวัน-เวลาทำการ ได้ที่ https://acu-exchange.com/
หรือสั่งจองเงินล่วงหน้า ได้ที่ Line OA : https://lin.ee/ph4iznU
เปิดให้บริการ: ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 10.00 – 17.00 น.
ที่อยู่: 205/18 – 19 ถนนรัชดาภิเษก แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทร: 02-0021008, 061-0283918, 084-3244893
- แท็กยอดนิยม | มาตราการคุ้มครองผู้เสียหาย, มิจฉาชีพ, สิงคโปร์
ผู้เขียน

ACU-Exchange
เรามีความมุ่งมั่นที่จะมอบประสบการณ์การแลกเปลี่ยนเงินตราที่ดีที่สุด และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้บริการสูงสุด เพื่อตอบโจทย์คนไทยที่ต้องการเดินทางไปต่างประเทศ และคนต่างชาติ ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ศึกษาต่อ หรือทำงานในประเทศไทย