Home - บทความ - พัฒนาเร็ว แต่เครียดหนัก! การเติบโตทางเศรษฐกิจกับผลกระทบต่อสุขภาพจิตในเกาหลีใต้

แชร์บทความ

พัฒนาเร็ว แต่เครียดหนัก! การเติบโตทางเศรษฐกิจกับผลกระทบต่อสุขภาพจิตในเกาหลีใต้

เกาหลีใต้

ช่วงนี้ถ้าสังเกตดีๆ เราจะเห็นว่ามีศิลปินและคนดังเกาหลีหลายคนที่จากไปด้วยการจบชีวิตตัวเองลงด้วยปัญหาความเครียดและความกดดัน ซึ่งสิ่งนี้เองได้สะท้อนถึงปัญหาสังคมที่ใหญ่มากในประเทศนี้ เพราะจริงๆ แล้วเกาหลีใต้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในโลก 

จากข้อมูลของ Statista ปี 2024 อัตราการฆ่าตัวตายในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นกว่า 8% จากปีก่อน ทำสถิติสูงสุดในรอบ 9 ปี และเป็นประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในกลุ่ม OECD อยู่ที่ 24.1 คน ต่อประชากร 100,000 คน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม OECD ที่10.07 คน มากกว่าสองเท่า ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในวงการบันเทิง แต่ยังกระทบต่อคนทุกวัย ตั้งแต่นักเรียน วัยทำงาน ไปจนถึงผู้สูงอายุ

เนื้อหา

พัฒนาเร็ว แต่ความกดดันสูง

หลังจากสงครามเกาหลี ประเทศพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ทุกอย่างต้องแข่งกับเวลา เพื่อให้ตามทันทางฝั่งตะวันตกและญี่ปุ่น ผลที่ตามมาคือ “สังคมกดดันให้ทุกคนต้องสมบูรณ์แบบ” ใครที่ไม่สามารถทำตามได้ จะถูกมองว่าเป็นภาระสังคม

ในระบบการศึกษา เด็กเกาหลีต้องแข่งขันกันอย่างหนักตั้งแต่เล็ก เพราะมีค่านิยมว่าต้องสอบติดมหาวิทยาลัยอันดับ 1 อย่าง Seoul National University ไม่อย่างนั้นโอกาสในชีวิต จะลดลงต้องติวพิเศษวันละ 12-16 ชั่วโมง ความเครียดสะสมทำให้เด็กหลายคนทนไม่ไหว

นอกจากเด็กแล้ว ผู้สูงอายุในเกาหลีก็มีอัตราการฆ่าตัวตายสูง เพราะสังคมให้คุณค่ากับคนที่ยังทำงานได้ ผู้สูงอายุหลายคนต้องใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวและขาดเงินเลี้ยงชีพ ทำให้รู้สึกหมดหวัง

วัฒนธรรมที่ซ้ำเติมปัญหา

ในเกาหลีใต้ ความล้มเหลว = น่าอาย คนที่ตกงาน ล้มละลาย หรือมีข่าวเสียหาย มักถูกสังคมกดดันหนักมาก บางคนมองว่าการจบชีวิตเป็นทางออกเดียว เพราะไม่สามารถมีที่ยืนในสังคมได้อีกต่อไป

อีกปัจจัยคือ คนเกาหลีส่วนใหญ่ไม่นับถือศาสนา สถิติปี 2023 ระบุว่า 63.4% ของประชากรที่ไม่มีศาสนา งานวิจัยชี้ว่า คนที่ไม่มีศาสนามักมองโลกแบบเหตุผลล้วนๆ ถ้าชีวิตไปต่อไม่ได้ พวกเขาอาจมองว่าทางเลือกเดียวคือการฆ่าตัวตาย

คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า

แม้เกาหลีใต้จะเป็นประเทศที่คนต่างชาติจำนวนมากอยากเข้าไปทำงานหรือใช้ชีวิต แต่คนรุ่นใหม่ของเกาหลีเองกลับอยากย้ายประเทศ พวกเขาเรียกประเทศตัวเองว่า “นรกโชซ็อน” เพราะต้องใช้ชีวิตแข่งกับเวลา ทุ่มเททำงานหนักแต่ไม่ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า

งานวิจัยของ Johan Schoonhoven อธิบายว่า เกาหลีใต้เข้าสู่ยุค Double-compress Modernity หรือยุคที่ประเทศไม่เพียงแค่พัฒนาเร็ว แต่ต้องพัฒนาให้เร็วขึ้นไปอีก ถ้าใครตามไม่ทัน ก็ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

เกาหลีใต้เป็นตัวอย่างของประเทศที่พัฒนาเร็วแต่สร้างแรงกดดันให้ประชาชนอย่างมหาศาล คนที่แข็งแกร่งสามารถอยู่รอด แต่คนที่อ่อนแออาจถูกสังคมบีบให้จนมุม และบางครั้ง ทางออกเดียวที่พวกเขามองเห็นคือการจากไป

อ้างอิง

แชร์บทความ

ผู้เขียน​

Picture of ACU-Exchange

ACU-Exchange

เรามีความมุ่งมั่นที่จะมอบประสบการณ์การแลกเปลี่ยนเงินตราที่ดีที่สุด และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้บริการสูงสุด เพื่อตอบโจทย์คนไทยที่ต้องการเดินทางไปต่างประเทศ และคนต่างชาติ ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ศึกษาต่อ หรือทำงานในประเทศไทย

Scroll to Top

ลงทะเบียนเป็นสมาชิก

ลงทะเบียนเป็นสมาชิก

บัญชีผู้ใช้งาน


ข้อมูลผู้ใช้งาน


ที่อยู่ตามบัตรประจำตัวประชาชน


ที่อยู่ปัจจุบัน

ข้อมลตามบัตรประชาชน


อัพโหลดรูปภาพเพื่อยืนยันตัวตน




ACU Currency Exchange

เข้าสู่ระบบ

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อใช้บริการ ACU Currency exchange

หากยังไม่มีบัญชีโปรด ลงทะเบียน