Home - บทความ - เงินเฟ้อจีนฟื้นตัว แต่ภาคการผลิตยังซบเซา

แชร์บทความ

เงินเฟ้อจีนฟื้นตัว แต่ภาคการผลิตยังซบเซา

เงินเฟ้อ

เศรษฐกิจจีนปี 2568 เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวจากภาวะเงินฝืด โดยมีดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมกราคม เพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 5 เดือน และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ 0.4% เงินเฟ้อในฝั่งผู้ผลิต (PPI) ยังติดลบต่อเนื่อง สะท้อนถึงปัญหาในภาคอุตสาหกรรมที่ยังเผชิญกับภาวะโอเวอร์ซัพพลาย (สินค้าล้นตลาด)

แม้เงินเฟ้อฝั่งผู้บริโภคจะเริ่มขยับแต่ต้องใช้เวลาอีก 2-3 ไตรมาสกว่าที่จีนจะหลุดพ้นจากภาวะเงินฝืดได้ ดัชนี PPI เดือนมกราคมยังคงหดตัว 2.3% เท่ากับเดือนธันวาคม ซึ่งแย่กว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะหดตัว 2.1%

ตลอดปี 2567 ดัชนีCPI ของจีนเพิ่มขึ้นเพียง 0.2% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อที่รัฐบาลตั้งไว้ที่ 3% และเป็นปีที่ 13 แล้วที่จีนพลาดเป้าเงินเฟ้อ

ตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงเปิดบวกหลังข่าวเงินเฟ้อดีขึ้น ดัชนีฮั่งเส็งของฮ่องกงเพิ่มขึ้น 0.43% ส่วนดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตเพิ่มขึ้น 0.13% แม้มีข่าวว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เตรียมเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียม 25% ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการค้าของจีน 

แม้ดัชนี CPI จะเพิ่มขึ้น แต่การใช้จ่ายของผู้บริโภคยังโตต่ำกว่าปีก่อนหน้าโดยช่วงเทศกาลตรุษจีนที่เริ่มในเดือนมกราคมปีนี้ทำให้ราคาสินค้าบางประเภทพุ่งขึ้น เช่น ค่าตั๋วเครื่องบินเพิ่มขึ้น 8.9% เงินเฟ้อภาคท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 7.0% และค่าตั๋วภาพยนตร์-การแสดงเพิ่มขึ้น 11.0%

อย่างไรก็ตามการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวช่วงตรุษจีนเพิ่มขึ้นเพียง 1.2% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับการเติบโต9.4% ในปี 2567 สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงระมัดระวังเรื่องค่าใช้จ่าย

การผลิตในจีนยังหดตัวอย่างต่อเนื่อง ดัชนี PPI ที่ติดลบมานานถึง 28 เดือน บ่งชี้ว่าภาคอุตสาหกรรมยังคงมีปัญหาสต๊อกสินค้าล้น และความต้องการในตลาดยังไม่เพียงพอ นักวิเคราะห์มองว่ารัฐบาลจีนจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อหนุนภาคการผลิต

นักวิเคราะห์คาดว่า รัฐบาลจีนจะยังไม่ปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินหรือการคลังครั้งใหญ่จนกว่าจะถึงการประชุมสองสภาในเดือนมีนาคม ปีนี้หลายมณฑลของจีนตั้งเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ต่ำกว่า 3% ซึ่งสะท้อนถึงความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังเปราะบาง

แม้ว่ารัฐบาลจีนตั้งเป้าให้เศรษฐกิจเติบโต 5% แต่สงครามการค้ากับสหรัฐฯ โดยเฉพาะนโยบายภาษีนำเข้าของทรัมป์ อาจกดดันการส่งออกของจีน ซึ่งเป็นเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจ

จีนเริ่มฟื้นตัวจากภาวะเงินฝืด แต่ยังมีความท้าทายหลายด้าน โดยเฉพาะภาคการผลิตที่ยังอ่อนแอ และการใช้จ่ายของประชาชนที่ยังไม่กลับมาเต็มที่ แม้ตลาดหุ้นจะตอบรับเชิงบวกต่อเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น แต่แรงกดดันจากสงครามการค้าและปัจจัยภายในยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในปีนี้

อ้างอิง

แชร์บทความ

ผู้เขียน​

Picture of ACU-Exchange

ACU-Exchange

เรามีความมุ่งมั่นที่จะมอบประสบการณ์การแลกเปลี่ยนเงินตราที่ดีที่สุด และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้บริการสูงสุด เพื่อตอบโจทย์คนไทยที่ต้องการเดินทางไปต่างประเทศ และคนต่างชาติ ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ศึกษาต่อ หรือทำงานในประเทศไทย

Scroll to Top

ลงทะเบียนเป็นสมาชิก

ลงทะเบียนเป็นสมาชิก

บัญชีผู้ใช้งาน


ข้อมูลผู้ใช้งาน


ที่อยู่ตามบัตรประจำตัวประชาชน


ที่อยู่ปัจจุบัน

ข้อมลตามบัตรประชาชน


อัพโหลดรูปภาพเพื่อยืนยันตัวตน




ACU Currency Exchange

เข้าสู่ระบบ

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อใช้บริการ ACU Currency exchange

หากยังไม่มีบัญชีโปรด ลงทะเบียน